ทบทวนเรื่องความคิดสร้างสรรค์จากการทำกิจกรรม 4 ฐาน
ฐานที่ 1 หน่วยแมลง - การนำแกนกระดาษทิชชู่มาทำเป็นแมลงโดยเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ได้ จะเกิดความคิดยืดหยุ่น ได้รู้จักการดัดแปลงได้หลากหลาย และการคิดแบบละเอียดลออในการเก็บรายละเอียดจนเป็นความคิดสร้างสรรค์
ฐานที่ 2 เป่าฟองอากาศ - การนำหลอดจุ่มสีและเป่าออกมาเป็นฟองอากาศให้ลงแผ่นกระดาษ จะเกิดความคิดริเริ่มจากการสร้างภาพนอกจากการวาด , การเขียน เป็นลักษณะคุณสมบัติวิทยาศาสตร์
ฐานที่ 3 สร้างสรรค์ผลงานจากจานกระดาษ - โดยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการวางแผนโดยอาศัยความรู้เดิม , ประสบการณ์เดิม ซึ่งเป็นการทำงานของสมอง
ฐานที่ 4 ผีเสื้อ - การนำสีมาทามือและแปะลงบนกระดาษเป็นรูปผีเสื้อ เป็นการใช้อุปกรณ์การสร้างภาพที่แตกต่างจากการเป่าฟองอากาศ เป็นการคิดเชื่อมโยง , การปรับปรุง และการประยุกต์
ความรู้ที่ได้รับ - เป็นการสร้างความคิดจากชิ้นงาน บางชิ้นงานเป็นการรับรู้ โดยการทำอาศัยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย , สื่อหลากหลาย , กลวิธีในการสร้างภาพ , การกระตุ้นในการใช้คำถามปลายเปิด , รับฟังความคิดเห็นของเด็กเสมอเพราะจะทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยเสริมแรงโดยการชื่นชมและให้กำลังใจ และยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
1. แจกกระดาษ จับกลุ่ม 10 คน และเลือกรูปทรงเรขาคณิตโดยไม่ให้ซ้ำกันในกลุ่ม
2. วาดรูปทรงเรขาคณิตตามที่เลือกและออกแบบรูปทรงเรขาคณิตของตนเอง
หนูเลือกรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส ค่ะ ออกแบบเป็นรูปโทรทัศน์ ^^ |
ของเพื่อนเลือกรูปสามเหลี่ยม ออกแบบเป็น ปู ค่ะ |
คนนี้เลือกวงรี ออกแบบเป็น เม็ดขนุน ค่ะ |
3. เมื่อวาดเสร็จให้นำรูปทรงเรขาคณิตไปติดบนกระดานโดยเรียงแยกรูปทรงต่างๆให้เป็นระเบียบถ้ารูปทรงเหมือนกันให้นำไปติดแถวเดียวกัน ถ้าแตกต่างกันให้เพิ่มแถวใหม่
4. นำรูปทรงเรขาคณิตมาระบายสีและตัดออกจากกระดาษ
5. เมื่อตัดเสร็จให้นำรูปทรงเรขาคณิตทากาวและแปะลงกระดาษทีึ่เตรียมไว้
6. นำกระดาษสีมาวาดเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่เลือกไว้และตัดออกจากกระดาษ
ความรู้ที่ได้รับ - การออกแบบรูปทรงเรขาคณิตเป็นการเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม สามารถออกแบบได้ตามความคิดความรู้เดิมของแต่ละคน บางรูปจะสามารถสื่อถึงอารมณ์ได้ และการวาดรูปทรงเรขาคณิตนั้นควรมีรูปทรงเรขาคณิตที่ชัดเจน ไม่ควรมีรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่ได้เลือกอยู่ในรูปเพราะอาจทำให้เด็กสับสนได้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านไปใช้ได้ในการจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
- สามารถปรับเปลี่ยนหรือแต่งเติมความคิดเดิมที่มีอยู่ได้
- ฝึกการคิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
- ออกแบบรูปทรงเรขาคณิตได้มากขึ้น
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ได้ชัดเจน และยกตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีกิจกรรมระหว่างการเรียนทำให้สนุกสนานและเพลิดเพลินมาก และทำให้สนใจการเรียนด้วยค่ะ มีกิจกรรมที่สนุกและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน อาจารย์สอนทำกิจกรรมต่างๆ และทำให้นักศึกษาตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆ จดบันทึกระหว่าเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อครูมีคำถาม ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม รับฟังความคิดเห็นเพื่อนในกลุ่ม และเข้าใจเนื้อหาความรู้ได้ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจการเรียนและบันทึกเมื่ออาจารย์สอน แสดงความคิดเห็นและรับฟังกันและกัน มีน้ำใจต่อกันช่วยกันแก้ปัญหา คอยแนะนำเมื่อเพื่อนบางคนไม่เข้าใจ และสนุกสนานในการทำกิจกรรม
- เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจการเรียนและบันทึกเมื่ออาจารย์สอน แสดงความคิดเห็นและรับฟังกันและกัน มีน้ำใจต่อกันช่วยกันแก้ปัญหา คอยแนะนำเมื่อเพื่อนบางคนไม่เข้าใจ และสนุกสนานในการทำกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น